เมนบอร์ด (Main Board) หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มาเธอร์บอร์ด (Mother Board) ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่เป็นหัวใจสำคัญสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่ใช้สำหรับการติดตั้งหรือต่อพ่วงอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับเมนบอร์ดนั้น ก็คือการเชื่อมโยงของสายไฟ ไปยังอุปกรณ์ที่อยู่บนM/B มากมาย หากสังเกตุลายทองแดงบนปริ้นของเมนบอร์ดแล้ว ก็จะเป็นในส่วนของทางเดินของสัญญาณแทบทั้งสิ้นเสมือนเป็นถนนสำหรับลำเลียงสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะแล้วกับข้อมูลที่เป็นส่วนสำคัญที่สุด ช่องทางเดินของสัญญาณต่าง ๆ เหล่านี้ รวมเรียกว่า 'ระบบบัส' ระบบบัสที่เหมาะสมจะต้องเร็วพอที่จะยอมให้อุปกรณ์อื่น ๆ รับและส่งข้อมูลผ่านได้ด้วยความเร็วเต็มความสามารถของอุปกร์นั้น เพื่อจะได้ไม่เป็นตัวคอยถ่วงให้การทำงานของอุปกรณ์อื่นช้าตามลงไปเพราะอุปกรณ์ที่ช้ากว่า
2.ความเป็นมาของเมนบอร์ด
พัฒนาการของเมนบอร์ดมีมาตั้งแต่ครั้งไอบีเอ็มออกแบบพีซีในปี 2524 โดยพัฒนาขนาดรูปร่างของเมนบอร์ดมาใช้กับเครื่องรุ่นพีซี และต่อมายังพัฒนาใช้กับรุ่นเอ็กซ์ที
ครั้นถึงรุ่นเอที ก็ได้หาทางสร้างขนาดของเมนบอร์ดให้มีมาตรฐานขึ้น โดยเฉพาะเครื่องที่พัฒนาต่อมาจะใช้ขนาดของเมนบอร์ดเอทีเป็นหลัก
จนเมื่อพัฒนาการของเทคโนโลยีก้าวหน้ามามาก สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในเมนบอร์ดยิ่งมีความสำคัญจนกระทั่งถึงประมาณปี พ.ศ.2538 หรือขณะนั้นพีซีกำลังก้าวสู่รุ่นเพนเทียม บริษัทอินเทลได้เสนอขนาดของเมนบอร์ดแบบมาตรฐานและเรียกว่า ATX ซึ่งใช้งานกันจนถึงทุกวันนี้
จากขนาดของ ATX ก็มีการพัฒนาการต่อเพื่อทำเครื่องให้มีขนาดกะทัดรัดขึ้น โดยลดขนาดของเมนบอร์ดลงและเรียกว่า MicroATX และลดลงอีกในรูปแบบที่ชื่อ FlexATX
3.ส่วนประกอบของเมนบอร์ด
Socket คือส่วนที่ใช้สำหรับใส่ซีพียู ซึ่งแต่ละเมนบอร์ดจะออกแบบซ็อกเก็ต ให้เหมาะสมกับ ซีพียูที่เมนบอร์ดนั้นรับรอง
IDE - Steckplatz คือช่องสำหรับเสียบสายแพร ที่ใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ และซีดีรอม
RAM - Speicherplatze ( DIMM ) คือช่องสำหรับเสียบเมมโมรี หรือแรม บางเมนบอร์ดอาจจะเสียบเมมโมรี ได้ถึงสองชนิดในบอร์ดเดียว
Externe Schnittstellen พอร์ตสำหรับต่อกับอุปกรณ์ภายนอกเช่น ปริ้นเตอร์
Disketten - Laufwerk คือช่องสำหรับเสียบสายแพร สำหรับเสียบกับฟล็อปปี้ดิสก์
Stromstecker ช่องสำหรับเสียบสาย Power ซึ่งมีสองแบบคือ สายแบบ AT และ สายแบบ ATX
Chipsatz คือชิปที่รวบรวมคำสั่งเพื่อสนับสนุนการทำงานของเมนบอร์ด
AGP - Steckplatz คือสล็อตสำหรับเสียบการ์ดแสดงภาพแบบชนิด AGP
Batterie fur die Exhtzeituhr คือแบตเตอรี่สำหรับเลี้ยงไบออส เมื่อเวลาปิดเครื่อง เมื่อเปิดเครื่องจะชาร์ตการทำงานได้
PCI - Steckplatze คือสล็อตสำหรับเสียบการ์ดแบบ PIC
ISA - Steckplatze คือสล็อตสำหรับเสียบการ์ดแบบ ISA ซึ่งในปัจจุบันเมนบอร์ดใหม่ ๆ จะไม่มีสล็อตนี้
3ชิปเซต
ชิฟเซตเป็นชิปที่สนับสนุนและประกอบอยู่บนเมนบอร์ด ปกติผู้เลือกซื้อยากที่จะเข้าใจถึงขีดความสามารถของชิปเซตเพราะความจริงแล้วคงเลือกที่รุ่นของเมนบอร์ดหลัก แต่ชิปเซตจะเป็นตัวสนับสนุนสเปกที่สำคัญของเมนบอร์ด ข้อมูลทางด้านชิปเซตเป็นข้อมูลทางเทคนิคที่กำหนดการสนับสนุนและการทำงานบนบอร์ด โดยจะเกี่ยวข้องกับความเร็วของบัส และสล็อต ตลอดจนพอร์ตต่าง ๆ ดังนั้นผู้ใช้ส่วนใหญ่จะพิจารณาจำนวนหรือขีดความสามารถของพอร์ต และสล็อตเป็นสำคัญ
4.สล็อต
เป็นช่องสำหรับเสียบอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น การ์ดต่าง ๆ บนเมนบอร์ด ซึ่งถ้ามองไปบนเมนบอร์ดจะเห็นเป็นช่องเสียบการ์ด ที่มีทั้งสี ขาว ดำ น้ำตาล ซึ่งเราเรียกช่องเสียบอุปกรณ์เหล่านี้ว่า I/O Expansion Slot เราสามารถแบ่งชนิดของสล็อตได้จากสีดังนี้
4.1 สล็อตสีขาว หรือ PCI Slot
PCI ย่อมาจากคำว่า Peripheral Component Interconnection เป็นสล็อตที่ใช้สำหรับเสียบอุปกรณ์จำพวก การ์ดจอภาพชนิดพีซีไอ การ์ดเสียง การ์ดโมเด็ม การ์ดอุปกรณ์ใด ๆ ที่สามารถเสียบกับสล็อต พีซีไอได้ สล็อตพีซีไอ มีอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลอยู่ที่ 33.3 เมกะเฮิรตซ์ ส่วนขนาดของบิตข้อมูลที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันระหว่างการ์ด พีซีไอ กับ ไมโครโปรเซสเซอร์ จะมีขนาด 32 บิต
4.2 สล็อตสีดำ หรือ ISA Slot
ISA ย่อมาจากคำว่า Industry Standard Architecture เป็นสล็อตแบบเก่ามีความยาวมากที่สุดบนเมนบอร์ด มีทั้งแบบ 8 บิต และ 16 บิต ทำงานที่ความเร็วในช่อง 7.9 - 8.33 เมกะเฮิรตซ์ อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลอยู่ที่ 4.5 เมกะไบต์ต่อวินาที
4.3 สล็อตสีน้ำตาล หรือ AGP Slot
AGP ย่อมาจากคำว่า Accelerated Graphic Port เป็นสล็อตที่ได้ออกแบบมาสำหรับใช้กับการ์ดแสดงผล ที่มีการส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากที่สุดด้วยความเร็วที่สูงที่สุด แต่ในเมนบอร์ดจะมีเพียง 1 สล็อตเท่านั้น APG มีขนาดความกว้าง 32 บิต ความเร็วเริ่มที่ 66 MHz และมีพัฒนาความเร็วไปที่ 133 และ 266 MHz ตามลำดับ
5.การเลือกใช้งานเมนบอร์ด
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้งานเมนบอร์ดมีดังนี้5.1 การรับประกันของตัวเมนบอร์ด
5.2 มีการรับรองกับเทคโนโลยัใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น
5.3 ตระกูลของซีพียูที่จะเลือกใช้งาน
5.4 จำนวนของพอร์ต และสล็อต
5.5 ควรเลือกใช้เมนบอร์ดมือหนึ่งเท่านั้น
6.เพาเวอร์ซัพพลาย
เพาเวอร์ซัพพลายจะใช้เทคโนโลยีที่เราเรียกว่า สวิตซิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย คือการเปลี่ยนแรงดันอินพุต กระแสสลับเอซี ให้เป็นแรงดันต่ำ กระแสตรง แรงดันที่ออกแบบให้ออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายมีอยู่ทั่วไป 3 ระดับ คือ 3.3 โวลต์ 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ โดยที่แรงดัน 3.3 โวลต์ และแรงดัน 5 โวลต์ จะนำไปใช้ในวงจรดิจิตอล ส่วนแรงดัน 12 โวลต์ ถูกนำไปใช้ในการหมุนมอเตอร์ของดิสก์ไดรฟ์และพัดลมระบายความร้อน
เพาเวอร์ซัพพลายมีหน้าที่หลักก็คือ เปลี่ยนแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับจากไฟบ้าน 220 โวลต์เอซีให้เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงดีซีที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น